วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

เรื่องนางผมหอม

ภารกิจพิเศษ
เรื่อง นางผมหอม
บทที่ 1 เรื่องย่อ 
                 มีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อเมืองนครสี มีลูกสาวชื่อนางสีดาวันหนึ่งได้ไปเที่ยวป่ากับเพื่อนเกิดพลัดหลง แล้วได้ไปดื่มน้ำที่รอยเท้าช้าง กับรอยเท้าวัว เมื่อกลับมาถึงบ้าน นางได้ตั้งท้องคลอดลูกเป็นผู้หญิง ผมมีกลิ่นหอมนางจึงตั้งชื่อลูกว่า “นางผมหอม” และ “นางลุน” ตอนเด็กๆทั้งสองถูกเพื่อนล้อเสมอว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ แม่จึงเล่าเรื่องราวทุกอย่างให้ฟัง  วันรุ่งขึ้นได้ขอแม่ออกไปตามหาพ่อในป่ากับน้อง ทั้งสองไปเจอพญาช้าง พญาช้างจึงพิสูจน์ความจริงว่าใช่ลูกตัวเองหรือไม่ จึงอธิฐานว่าใครเป็นลูกให้ปีนขึ้นมาบนหลังตนได้ ถ้าไม่ใช่ก็ปีนไม่ได้ นางผมหอมปีนขึ้นได้ แต่นางลุนปีนไม่ได้จึงถูกพญาช้างเหยียบตาย                 ต่อมานางผมหอมได้ไปอยู่ที่ปราสาทกับพญาช้าง วันหนึ่งนางได้ลงเล่นน้ำที่ลำธาร เมื่ออาบน้ำเสร็จจึง เอาเส้นผมใส่ในผอบทองลอยน้ำไป ท้าววรจิตรลูกชายเจ้าเมืองฮ่มขาว ได้ไปอาบน้ำเจอผอบเปิดออกเห็นเส้น
ผมมีกลิ่นหอม ก็หลงรักเจ้าของเส้นผมขึ้นมาทันที จึงนำผอบตามหาเจ้าของเส้นผม ในที่สุดได้เจอกับนางผมหอม ทั้งสองจึงตกลงไปอยู่ด้วยกันที่ปราสาทจนกระทั่งมีลูกสองคนด้วยกัน โดยไม่บอกให้พญาช้างรู้ ทำให้พญา ช้างทราบทีหลังและตรอมใจตาย นางผมหอมได้เอากระดูกของพญาช้างมาทำเป็นเรือทองคำกลับเมือง ระหว่างทางได้กับเจอนางผีพราย นางผีพรายได้ดึงนางผมหอมตกน้ำ แล้วแปลงเป็นนางผมหอมเข้าเมือง แต่นางผมหอมไม่ตายได้มาอาศัยอยู่กับลิง และลูกทั้งสองของตนมาพบได้เล่าความจริงให้ลูกฟังทั้งหมดว่านางผมหอมที่อยู่กับพ่อนั้นไม่ใช่ตัวจริง ฝ่ายลูกชายจึงเล่าเรื่องราวให้ผู้เป็นพ่อทราบและท้าววรจิตรจึงฆ่านางผีพรายตาย แล้วรับเอานางผมหอมเข้ามาอยู่ด้วยกันที่เมืองอย่างมีความสุขตลอดมา

2. ที่มาเเละความสำคัญ
              เรื่อง นางผมหอม เป็นตำนานนิทานพื้นบ้าน ที่เล่าสืบต่อกันมา  แต่โบราณจะเล่าาเเบบมุขปาฐะหรือปากต่อปาก แต่ปัจจุบันมีการนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ตีพิมพ์เป็นหนังสือนิทานพื้นบ้าน
   ต้นฉบับ :  นิทานนางผมหอม เป็นคำกลอนโบราณภาษาอีสาน เล่มเดียวจบ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความลำบาก การลัดพราก เดินป่า น่าสงสาร ความรัก รวมอยู่ในเรื่องนางผมหอม

   ผู้เเต่ง :  เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์)
   ปีที่พิมพ์  :  2547
  จัดพิมพ์   : บริษัท ขอนเเก่น คลังนานาธรรม จำกัด โทร (043) 2215=1,221346, กด 0
   จำหน่ายที่  :  บริษัท ขอนเเก่น คลังนานาธรรม จำกัด  161/6-8 ตรงข้ามตลาดสดเทศบาล 1  ข้าง                            โรงเรียน กัลยาณวัตร ถนนกลางเมื่อง  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนเเก่น 40000

3. วิเคราะห์เนื้อหา
       
        1. วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
     - วิเคราะห์ชื่อเรื่องของวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรื่องนางผมหอม มีที่มามาจากการนำเอาชื่อของตัวละครเอก ที่เป็นนางเอกในเรื่องมาตั้งชื่อเรื่อง
2. แก่นเรื่อง
        - คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

3. โครงเรื่อง

การเปิดเรื่อง
          - เป็นการบรรยายถึงเมืองนครศรี ที่มีกษัตริย์ปกครอง บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์

การดำเนินเรื่อง
            -  พระราชากับมเหสี อยากมีลูกก็เลยขอจากพระอินทร์ พระอินทร์ก็ประทานลูกลงมาให้ ได้ลูกชื่อว่านางสีดา พอโตขึ้นมา
            - นางสีดาก็อยากเสด็จประพาสป่า ก็ไปกับพระพี่เลี้ยง และได้พลัดหลงกับพี่เลี้ยงและนางกำนัล เดินรอนแรมด้วยความหิวกระหาย จึงได้ดื่มน้ำจากรอยเท้าของช้างกับวัว และได้กำเนิดมาเป็นลูกสาวทั้งสองชื่อ ผมหอมกับนางลุน
              -  ครั้งเมื่อไปเล่นกับเพื่อนก็ถูกล้อเลียนและทำร้ายว่าเป็นลูกผีปีศาจ จนทำให้นางทั้งสองต้องถามแม่ว่าพ่อคือใครและออกเดินทางตามหา เกิดข้อขัดแย้งระหว่างคนกับคน
             -  พอนางผมหอมและนางลุนพบพระยาช้างสารนางทั้งสองจึงทำการเสี่ยงทายด้วยการไต่ขึ้นไปบนหลังช้าง นางผมหอมไต่ขึ้นไปได้แต่นางลุนไต่เท่าไหร่ก็ไต่ขึ้นไม่ได้เพราะนางเป็นลูกวัว ช้างจึงจับนางกินเป็นอาหาร นางผมหอมก็ได้ไปอยู่กับพ่อช้างจนโตเป็นสาว
              - นางผมหอมก็อยากมีสามี จึงนำพระอบมาเสี่ยงทายลงในน้ำ พระรังสิทธิ์เป็นคนได้พระอบและเดินทางไปหานางผมหอม ก็อยู่ด้วยกันจนมีลูกสองคนชื่อสีลากับชาฎา ก็พาลูกออกมาจากป่าพ่อช้างเอางาให้เป็นเรือในการเดินทาง ลูกน้อยก็อยากได้ดอกบัว นางผมหอมก็เอาให้

 ปมของเรื่อง
              - แต่นางผีโพงได้ผลักนางผมหอมตกน้ำและได้จำแลงแปลงกายเป็นนางผมหอมให้เจ้าชายหลงและเข้ามาอยู่ในกับเจ้าชาย นางผมหอมต้องไปอาศัยอยู่กับลิงกัง สีลาลูกชายจึงต้องพาน้องตามหานางเพื่อจะขอน้ำนมให้น้องกว่าที่เจ้าชายจะทราบ และกว่าเจ้าชายจะทราบความจริงนางผมหอมก็ต้องระหกระเหินลำบากนานเหมือนกัน

 ตอนจบของเรื่อง

             -  เจ้าชายทราบว่านางผีโพงปลอมแปลงมาและไม่ใช่นางผมหอมตัวจริงจึงจึงทำการกำจัดนางผีโพงนางผมหอมและท่านชายได้กลับมาอยู่เมืองและมีความสุข


4. วิเคราะห์ตัวละคร
      1. ตัวละครหลัก
                - นางผมหอม (นางเอก) ลักษณะนิสัย เป็นหญิงรูปงาม มีผมที่มีกลิ่นหอมเเต่กำเนิด มีนิสัย อ่อนโยน จิตใจดี รักเดียวใจเดียว
           
                -นางลุน (น้องนางเอก)    ลักษณะนิสัย  เป็นหญิงรูปงาม มีนิสัยก้าวร้าว  ไม่เชื่อฟังใคร เป็นคนรักครอบครัว
       
              -นางสีดา (แม่นางเอก)     ลักษณะนิสัย  เป็นคนรักลูกมาก มีน้ำใจ มีความเมตา

              - รังสิทธิ์ (พระเอก)  ลักษณะนิสัย รูปหล่อ นิสัยเป็นคนเจ้าชู้
       
             -พญาช้างกุญชร  (พ่อนางเอก)  ลักษณะนิสัย  เป็นช้างป่าตัวใหญ่  รักลูกมาก

         
    2. ตัวละครรอง
         
                - ลีลา  (ลูกชายของนางผมหอมกับพระรังสิทธิ์) ลักษณะนิสัย   เป็นเด็กชายรูปงาม มีจิตใจดี
                - ชาฎา  (ลูกสาวของนางผมหอมกับพระรังสิทธิ์) ลักษณะนิสัย   เป็นเด็กหญิงรูปงาม น่ารัก จิใจดี มีเมตา
         
              - ผีพราย (ตัวร้าย)  ลักษณะนิสัย   เป็นผีพราย น่ากลัว เจ้าเล่ห์

5. ฉากสถานที่      
                 ฉากหลัก  คือ ป่า เพราะส่วนมากจะดำเนินเนื้อเรื่องอยู่ในป่าเป็นส่วนใหญ่
ยกตัวอย่าง
          -  นางสีดาได้พลัดหลงอยู่ในป่าและกินน้ำรอยเท้าช้างและวัวเป็นจุดกำเนิดของเรื่อง                                 - นางลุนเเละนางผมหอมออกตามหาพ่อของตนเองในป่าใหญ่  จนนางลุนนั่นตายในป่าโดยพญาช้างทำร้าย เเละนางผมหอมอาศัยอยู่กับพญาช้างในป่าเป็นเวลาหลายปี

                 ฉากรอง คือ เมืองเป็งจาล เเละ เมื่องนครศรี                                                                                             -เมื่องเป็งจาลเป็นเมื่องของเจ้าชายทะรังสิทธิ์                                                                                             -เมืองนครศรีเป็นบ้านเมื่อนของนางสีดา ผู้เป็นแม่ของนางผมหอมและนางลุน
  ความโดดเด่นของวรรณกรรม
             ด้านเนื้อหา : สะท้อนให้เห็นถึงบาปบุญคุญโทษ การกระทำ เช่น นางผมถึงเเม้ต้องพลัดพราก    จากสามีเเละลูก เเต่ก็ยังอาศัยอยู่ในป่ากับสัตว์ที่เป็นมิตรกับนางเเละคอยช่วยเหลือนางมาตลอด
             ด้านตัวละคร  : นิทานเรื่องนางผมหอม  ตัวละครจะเป็นตัวดำเนินเรื่อง   เช่น
               -นางลุน เป็นหญิงที่น่าสงสารที่ยังไม่เจอน่าพ่อก็มาตายก่อน                                              
               -นางผมหอม เป็นหญิงงาม เเละมีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนใคร คือมีผมที่มีกลิ่นหอม และพิเศษกว่าคนอื่น                                                                                                                     
               ด้านการใช้ภาษา : นิทานนางผมหอม ผู้เเต่งใช้ภาษาอีสาน เล่มเดียวจบ ในการดำเนินเรื่อง เป็นเรื่องจรจัด พลัดพราก ลำบาก เดินป่า น่าสงสาร เป็นนิท่นอ่าสนุกยิ่ง เเละยังเขียนเป็นคำกลอนอีสาน ประเภทกลอนสุภาพ

การนำมาประยุกต์ใช้
       1. ละครพื้นบ้าน
       2. นิทานพื้นบ้าน
       3. ลำเรื่องต่อกลอน


การสร้างสรรค์เป็นสื่อการเรียนการสอน
 
 สรุปภาพ Infographics

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น